1. ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของบริษัท รปภ.  บริษัทรักษาความปลอดภัย จากการใช้บังคับของ พรบ.  ธุรกิจรักษาความปลอดภัย 2558

จากการที่ พรบ. ธุรกิจรักษาความปลอดภัย 2558 มีผลบังคับใช้นั้น ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจ รปภ. มีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นหลายด้าน และเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่อบริษัท รปภ. และพนักงาน รปภ. เช่น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจอยู่ที่ 5,000 – 50,000 บาท ใบอนุญาตเป็นพนักงาน รปภ. อยู่ที่ 300 บาท ซึ่งมีต้นทุนแฝง เช่น ต้องผ่านการฝึกอบรมจากตำรวจ จำนวน 5 วัน มีค่าใช้จ่าย 6,000 บาท ต่อคน ค่ารถรับส่งไปกลับสถานฝึก ซึ่งต้นทุนดังกล่าว  บริษัท รปภ. ต้องรับผิดชอบให้พนักงานก่อน ซึ่งจะเป็นผลกระทบจะไปตกเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับราคาค่าจ้างพนักงาน รปภ. กับผู้ว่าจ้างที่สูงขึ้น

2. รปภ.หน้าที่การทำงาน  ความรับผิดชอบ  และภาวะกดดันในการทำงาน

รปภ.  พนักงานรปภ.  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  กับหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าจ้าง  อาจมีการมอบหมายงานให้กระทำการเพื่อความปลอดภัย  โดยขัดหรือปิดกั้นบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต  จึงทำให้เกิดความไม่พอใจบุคคลนั้น  จึงเกิดเหตุ  รปภ.  ถูกทำร้ายร่างกายเป็นข่าวบ่อยครั้ง  จึงเป็นภาวะกดดันอย่างยิ่งกับ  รปภ.  หรือผู้ประกอบการอาชีพนี้

3. บริษัท รปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัย พนักงานรักษาความปลอดภัย กับการขยายเวลาขึ้นทะเบียน ที่มีผลจาก ม.44

บริษัทรักษาความปลอดภัยทุกบริษัทต้องขึ้นทะเบียนบริษัทและนำเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในสังกัดไปขึ้นทะเบียนต่อนายทะเบียนกลาง ขยายเวลาอีก 360 วัน จากการใช้ ม.44 เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ซึ่งทุกบริษัทจะต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนบริษัทและขึ้นทะเบียน รปภ. ให้แล้วเสร็จ ภายในวันที 26 กุมภาพันธ์ 2560

5. วุฒิการศึกษาของพนักงาน รปภ. ในปัจจุบันตามกฎหมาย

วุฒิการศึกษาของ รปภ. พนักงาน รปภ. พนักงานรักษาความปลอดภัย  ซึ่งตามกฎหมายพนักงาน รปภ. ต้องจบการศึกษาภาคบังคับหรือมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปัจจุบัน  ซึ่ง รปภ. ที่สมัครและเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย  ได้มีข้อยกเว้นเพิ่มเติม คือต้องจบการศึกษาภาคบังคับ ตามช่วงอายุ หรือตามปี พ.ศ.ที่เกิดตามกฎหมายบังคับ เช่น ขณะปี พ.ศ. ที่เกิด  การศึกษาภาคบังคับต้องจบ ป.4 , ป.6 เป็นต้น  จึงเป็นการแก้ปัญหาให้พนักงาน รปภ.ที่มีอายุได้ผ่อนคลายระดับหนึ่ง

6. สตช.เตือน รปภ. บริษัท รปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัย จากแก๊งมิชชาชีพ ช่วงเทศกาลปีใหม่

- แก๊งส่งของขวัญวันปีใหม่ คนร้ายจะออกสำรวจตามบ้านที่มีเพียงเด็ก ผู้หญิง หรือผู้สูงอายุ รวมทั้งคนรับใช้ โดยหลอกให้เปิดประตูให้เพื่อยกกล่องขวัญเข้าบ้าน ก่อนจะนำทรัพย์สินมีค่าในบ้านหลบหนีไป

-แก๊งสารพัดช่าง คนร้ายจะออกอุบายหลอกว่าจะมาซ่อมสิ่งของภายในบ้าน พอเจ้าของบ้านเผลอก็จะหยิบทรัพย์สินมีค่าหลบหนีไป

-แก๊งขายสินค้าราคาถูก คนร้ายจะขับรถตระเวนขายสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ หรือหมดอายุ

-แก๊งจัดงานเลี้ยง คนร้ายจะแอบอ้างกับผู้จัดงานเลี้ยงว่าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ในราคาถูกแต่จะหลอกเอาเงินไปก่อนและหลบหายไป

-แก๊งเรี่ยไรทำบุญ คนร้ายจะออกตระเวนเดินเรี่ยไร โดยบางกลุ่มปลอมตัวเป็นพระภิกษุหรือแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ ออกเรี่ยไรหาเงิน

-แก๊งชุบหรือล้างทองรูปพรรณ คนร้ายจะอาศัยช่วยที่เจ้าของทองเผลอแล้วนำทองปลอมที่เตรียมไว้ขึ้นมาเปลี่ยน

-แก๊งล้วงและกรีดกระเป๋า คนร้ายจะทำกันเป็นขบวนการ โดยเฉพาะสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน เช่น ในสถานีขนส่ง หรือบริเวณย่านการค้าที่มีผู้คนเป็นจำนวนมาก

-แก๊งมอมยา คนร้ายจะผสมยานอนหลับลงในน้ำดื่มหรืออาหาร เมื่อเหยื่อหลงเชื่อจะหยิบทรัพย์สินที่มีค่า แล้วหลบหนีไป

-แก๊งชวนเล่นการพนัน คนร้ายจะชักชวนให้มาร่วมเล่นการพนันในรูปแบบต่าง ๆ เมื่อเหยื่อหลงเชื่อจะเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก

-แก๊งใช้ธนบัตรปลอมและบัตรเครดิตปลอม โดยคนร้ายจะใช้ธนบัตรปลอมมาใช้ซื้อสินค้า หรือใช้บัตรเครดิตปลอมมารูดซื้อสินค้าแต่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้จริง