1. รปภ. บริษัท รปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัย รักษาความปลอดภัย บริการ รปภ. จ้าง รปภ. ยาม เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (เปลี่ยนทางจาก รปภ.) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือ ยามรักษาการณ์ หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ยาม เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นจ้างมาเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับบริษัทห้างร้านต่างๆ หรือกระทั่งที่อยู่อาศัย ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน โดยส่วนมากมักจะจ้างบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ แล้วให้บุคคลที่จะมาเฝ้ายาม ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตามช่วงเวลา สำหรับในประเทศไทย บางครั้งเราอาจพบเห็นหรือได้ยินยามคอยตีสัญญาณบอกเวลาในตอนกลางคืน เช่น เวลา 3 นาฬิกา ยามก็จะตีแผ่นเหล็กสามครั้ง เรียกว่า ตีสาม เป็นต้น

2. หลักการบริการรักษาความปลอดภัยโดยเจ้าหน้าที่  รปภ.

การบริการรักษาความปลอดภัยโดยพนักงานรักษาความปลอดภัย นั้น มีหลักการในการรักษาความปลอดภัยการดูแลทรัพย์สิน และ การอำนวยการรักษาความปลอดภัยรวมถึง การบริการอำนวยความสะดวกในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ว่าจ้าง ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนช่วยให้เป็นไปตามความต้องการและป้องกันทรัพย์สินรวมถึงงานต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่ รปภ. ได้รับมอบหมาย

3. สถานฝึกอบรม  รปภ. พนักงาน รปภ. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

เนื่องจาก พรบ. รักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ได้กำหนดให้ รปภ. เจ้าหน้าทีรักษาความปลอดภัย  ต้องได้รับการฝึกอบรม และรับรองจากสถานฝึกอบรมรับอนุญาตจากนายทะเบียน  ซึ่งสถานฝึกอบรมของภาครัฐไม่เพียงพอที่จะทำการฝึกอบรม รปภ.อนุญาตที่มีจำนวน 200,000 คน ได้ทัน  จึงทำให้สถานฝึกอบรมของเอกชนมีความสำคัญมาก  เพื่อที่จะรองรับปัญหาให้แก่พนักงานรักษาความปลอดภัยได้รับการฝึกและรับรอง

4. รปภ. การชะลอและข้อแก้ไข พรบ.รักษาความปลอดภัย

พรบ. รักษาความปลอดภัยที่จะบังคับใช้ในปัจจุบันกับรปภ.  บริษัทรปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัย ซึ่งมีหลายมาตราที่บังคับใช้จริงไม่ได้ ขัดต่อสภาวะปัจจุบัน และความพร้อมกับการพัฒนาประเทศ เช่น รปภ.ต้องมีวุฒิ ม.3 ขึ้นไป   ซึ่งปัจจุบันมีไม่ถึง 10% จากจำนวนรปภ. 400,000 คน และบังคับให้ บริษัทรปภ. ต้องทำบริการรักษาความปลอดภัยอย่างเดียว ซึ่งกระทบต่อธุรกิจรวมอย่างมากในการจดทะเบียนบริษัท รวมถึงโทษทางอาญาที่มีทั้งจำ ทั้งปรับ ไม่ได้มุ่งถึงการพัฒนาคุณภาพ แต่มุ่งแต่จำนวนเงินจะได้รับ จากบริษัทรักษาความปลอดภัยและพนักงาน รปภ.

5. เสียงสะท้อนจาก รปภ. บริษัทรปภ. และผู้ว่าจ้างรปภ. ในการบังคับใช้ พรบ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัยที่กำลังจะเกิดขึ้น

-รปภ. พนักงานรักษาความปลอดภัย “ออกกฎหมายมาไม่ถามคนถูกบังคับใช้เลยว่าต้องการหรือไม่”

“รปภ. ต้องจบ ม.3 ขั้นต่ำ อย่างนี้เหมือนไล่ผมให้ตกงาน” “จบจากทำนา ทำงานก่อสร้าง ผมจะได้หาเงินจากทำ รปภ. แล้วจะหาเงินมาจากไหน”

“รปภ.คนไทย ทำงานไม่ได้ ทำเหมือนพวกผมเป็นต่างด้าว พวกผมทำงานสุจริต จะไล่ผมไปเป็นโจรหรือ ตั้ง 400,000 คน”

-บริษัท รปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัย

“พรบ.นี้ทำให้บริษัท รปภ. อยู่ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายเยอะ ไม่ปฏิบัติตามมีโทษ ทั้งจำ ทั้งปรับ”

“ลองศึกษาเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่น้อมปฏิบัติตามอยู่แล้ว แต่อย่าเอาเปรียบกันมาก”

“บริษัทเล็กไม่ไหวคงต้องเลิกทำ และปัญหาต่างๆ ของพนักงานที่ตกงาน ไหนลูกเมียจะเอาอะไรกินกัน”

- บริษัท ผู้ว่าจ้าง

“พรบ. นี้มีด้านดี  คือผู้ว่าจ้างจะได้พนักงานมาดูแลทรัพย์สินที่มีคุณภาพ มีความรู้ จบม.3  ไม่มีประวัติอาชญากรรม มีสัญชาติไทย”

“น่าส่งสารพนักงานที่ทำงานดี แต่คุณสมบัติไม่ครบถ้วน ต้องมาตกงาน”